เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 5. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส
คำว่า แม้ธรรมทั้งหลายพระอรหันต์เหล่านั้น ก็ไม่ปรารถนาแล้ว อธิบายว่า
ทิฏฐิ 62 ตรัสเรียกว่า ธรรม
คำว่า เหล่านั้น ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น
คำว่า ไม่ปรารถนาแล้ว อธิบายว่า ไม่ปรารถนาแล้วว่า "โลกเที่ยง นี้เท่านั้น
จริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ" ไม่ปรารถนาแล้วว่า "โลกไม่เที่ยง ... หลังจากตายแล้ว
ตถาคต1 จะว่าเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ" รวม
ความว่า แม้ธรรมทั้งหลายพระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น ก็ไม่ปรารถนาแล้ว
คำว่า ไม่ ในคำว่า พระอรหันต์ผู้เป็นพราหมณ์ ใคร ๆ จึงนำไปด้วยศีลวัตร
ไม่ได้ เป็นคำปฏิเสธ
คำว่า ผู้เป็นพราหมณ์ อธิบายว่า ที่ชื่อว่าพราหมณ์เพราะลอยธรรม 7
ประการได้แล้ว คือ
1. ลอยสักกายทิฏฐิได้แล้ว ... ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย เป็นผู้มั่นคง
บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่า เป็นพราหมณ์2
คำว่า ผู้เป็นพราหมณ์ ใคร ๆ ก็นำไปด้วยศีลวัตรไม่ได้ อธิบายว่า ผู้เป็น
พราหมณ์ ย่อมไม่ดำเนินไป ไม่ออกไป ไม่ถูกพาไป ไม่ถูกนำไปด้วยศีล วัตรหรือศีลวัตร
รวมความว่า ผู้เป็นพราหมณ์ ใคร ๆ จึงนำไปด้วยศีลวัตรไม่ได้
คำว่า เป็นผู้ถึงฝั่งแล้ว ไม่กลับมา เป็นผู้มั่นคง อธิบายว่า อมตนิพพาน
ตรัสเรียกว่า ฝั่ง คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่
สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท พระอรหันต์นั้น ถึงฝั่ง
บรรลุฝั่ง ถึงส่วนสุด บรรลุส่วนสุด ถึงปลายสุด บรรลุปลายสุด พระอรหันต์นั้นไม่มี
การเวียนเกิด เวียนตาย และภพใหม่ก็ไม่มีอีก รวมความว่า เป็นผู้ถึงฝั่งแล้ว
คำว่า ไม่กลับมา อธิบายว่า กิเลสเหล่าใดอริยบุคคลละได้แล้วด้วย
โสดาปัตติมรรค อริยบุคคลก็ไม่มา ไม่กลับมา คือ ไม่หวนกลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก
กิเลสเหล่าใด อริยบุคคลละได้แล้วด้วยสกทาคามิมรรค อริยบุคคลก็ไม่มา ไม่กลับมา

เชิงอรรถ :
1 ตถาคต ดูเชิงอรรถข้อ 16/77
2 ดูรายละเอียดข้อ 25/104-105

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :138 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 5. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส
คือ ไม่หวนกลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก กิเลสเหล่าใด อริยบุคคลละได้แล้วด้วย
อนาคามิมรรค อริยบุคคลก็ไม่มา ไม่กลับมา คือ ไม่หวนกลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก
กิเลสเหล่าใด อริยบุคคลละได้แล้วด้วยอรหัตตมรรค อริยบุคคลก็ไม่มา ไม่กลับมา
คือ ไม่หวนกลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก รวมความว่า เป็นผู้ถึงฝั่ง ไม่กลับมา

ว่าด้วยพระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้มั่นคง
คำว่า เป็นผู้มั่นคง อธิบายว่า พระอรหันต์ เป็นผู้มั่นคงด้วยอาการ 5 อย่าง
คือ
1. เป็นผู้มั่นคงในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์
2. เป็นผู้มั่นคง เพราะเป็นผู้สละแล้ว
3. เป็นผู้มั่นคง เพราะเป็นผู้ข้ามได้แล้ว
4. เป็นผู้มั่งคง เพราะเป็นผู้พ้นแล้ว
5. เป็นผู้มั่นคง เพราะแสดงออกซึ่งธรรมนั้น ๆ
พระอรหันต์เป็นผู้มั่นคงในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ เป็นอย่างไร
คือ พระอรหันต์เป็นผู้มั่นคงทั้งในลาภและในความเสื่อมลาภ เป็นผู้มั่นคงทั้ง
ในยศและในความเสื่อมยศ เป็นผู้มั่งคงทั้งในสรรเสริญและนินทา เป็นผู้มั่นคงทั้งใน
สุขและทุกข์ คนบางพวกเอาของหอมชะโลมแขนข้างหนึ่ง อีกพวกหนึ่งใช้มีดถากแขน
อีกข้างหนึ่ง พระอรหันต์ก็ไม่มีความยินดีในการชะโลมด้วยของหอมโน้น ไม่มีความ
ยินร้ายในการถากแขนโน้น พระอรหันต์ละความยินดีและความยินร้ายได้แล้ว ล่วง
พ้นความดีใจและความเสียใจได้แล้ว ก้าวล่วงความยินดีและความยินร้ายได้แล้ว
พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้มั่นคงในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ เป็นอย่างนี้
พระอรหันต์เป็นผู้มั่นคง เพราะเป็นผู้สละแล้ว เป็นอย่างไร
คือ พระอรหันต์สละ คลาย ปล่อย ละ สลัดทิ้ง ราคะ ... โทสะ ... โมหะ ...
โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... อิสสา ... มัจฉริยะ ... มายา ... สาเถยยะ
... ถัมภะ ... สารัมภะ ... มานะ ... อติมานะ ... มทะ ... ปมาทะ ... กิเลสทุกชนิด ...
ทุจริตทุกทาง ... ความกระวนกระวายทุกอย่าง ... ความเร่าร้อนทุกสถาน ... ความ
เดือดร้อนทุกประการ พระอรหันต์สละ คลาย ปล่อย ละ สลัดทิ้งอกุสลาภิสังขารทุก
ประเภทได้แล้ว พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้มั่นคง เพราะเป็นผู้สละแล้ว เป็นอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :139 }